วันนี้พามาเที่ยวไหว้พระกันที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา กับวัดที่มีชื่อว่า วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อวัดเมือง เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ซึ่งถูกก่อสร้างขึ้นในช่วงการพัฒนาบ้านแปลงเมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ใครที่สนใจอยากรู้ว่า วัดดังฉะเชิงเทรา แห่งนี้ จะมีความเป็นมาอย่างไรและมีอะไรน่าสนใจบ้าง ลองตามเราไปดูด้วยกันได้เลยครับ
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติและความเป็นมาของวัด
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ประเภทสามัญ ตั้งอยู่ข้างแม่น้ำบางปะกงฝั่งตะวันตก ในตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พระอารามนี้เคยมีชื่อเรียกว่า “วัดหลักเมือง” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วัดหน้าเมือง” เป็นวัดที่มีความสำคัญและตั้งอยู่กลางใจเมืองเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดเมือง”

ในปี พ.ศ. 2377 การสร้างป้อมและกำแพงเมืองเพื่อกำหนดเขตแดนของแปดริ้วได้เริ่มขึ้น เพื่อเป็นป้อมปราการปกป้องพระนครและชาวบ้านจากศัตรู โดยช่างฝีมือจากกรุงเทพฯ ได้ออกแบบในสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับพระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีความแตกต่างเพียงในรายละเอียดเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ชาวบ้านที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนายังได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่งทางจิตใจในช่วงเวลาสงคราม เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า “วัดเมือง”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนฉะเชิงเทรา และพระราชทานนามวัดว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤฎิ์” ซึ่งมีความหมายว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินได้สร้างขึ้น
ความน่าสนใจภายในวัด

- พระอุโบสถ : กว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร มีมุขเด็จที่ด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันของมุขเด็จมีลวดลายปูนปั้นที่งดงาม ประดับด้วยอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” (ซึ่งใช้ร่วมกันระหว่างรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5) ลงรักปิดทองและประดับด้วยกระจกที่วิจิตร
- สมเด็จพระมหาพุทธรักษ์รณเรศ : หรือ “หลวงพ่อเมือง” ถือเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่ทำจากปูนปั้นและลงรักปิดทองในปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 6 ศอก โดยฝีมือของช่างจากเมืองหลวง
- พระวิหารมีขนาดกว้าง : 12 เมตร ยาว 26 เมตร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของพระอุโบสถ ภายในพระวิหารนั้นมีพระประธานและพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 3 ศอก จำนวน 4 องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปจากยุคสุโขทัย ทำจากทองสำริด นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด และมีภาพมงคลจำนวน 108 ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

- พระปรางค์ : ตั้งอยู่ที่มุมกำแพงรอบพระวิหาร มีทั้งหมด 4 องค์ เป็นผลงานสถาปัตยกรรมในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
- ศาลาการเปรียญ : สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2510 โดยในอดีตเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว แต่ได้มีการปรับปรุงโดยยกสูงจากพื้นเดิมและเปลี่ยนเป็นอาคาร 2 ชั้น มีระเบียงรอบตัวอาคาร หน้าบันประดับด้วยพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ภายในอาคารมีของโบราณที่สำคัญ เช่น ธรรมาสน์บุษบก ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3, ธรรมาสน์เทศน์ที่มีลวดลายรดน้ำ และเป็นธรรมาสน์ชั้นตรี รวมถึงเครื่องสังเค็ด (ของที่ระลึก, ของชำร่วย) ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพรัชกาลที่ 5 ซึ่งรัชกาลที่ 6 ได้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานให้กับพระอารามหลวง
- พระเจดีย์ : ที่มีความสูงประมาณ 6-7 เมตรนี้ เป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระยาวิเศษฤาชัย อดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่รอบนอกของวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา

- ศาลากรมหลวงรักษ์รณเรศ : ตั้งอยู่ภายนอกกำแพงวัด มีรูปหล่อกรมหลวงรักษ์รณเรศในชุดออกศึก ประทับนั่งขนาดเท่าองค์จริง หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเหนือแม่น้ำบางปะกง พระองค์เป็นที่นับถือของชาวบ้านและพ่อค้าชาวจีน ซึ่งเชื่อว่า หากผู้ใดได้สัมผัสพระแสงดาบของพระองค์ จะได้รับบารมีในการเอาชนะคู่แข่ง และหากได้สัมผัสฉลองพระบาท จะได้รับบารมีในการปกครองและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
ข้อมูลของ วัดเมือง ฉะเชิงเทรา
- สถานที่ตั้ง : ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- เวาลาเปิด – ปิด : ทุกวัน
- วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
ใครที่สนใจขับรถไปเที่ยววัดใกล้กรุงเทพฯ สามารถมุ่งหน้าไปที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ได้เลยครับ วัดนี้มีบรรยากาศร่มรื่นและผู้คนไม่หนาแน่นมาก ที่สำคัญยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุในอดีตให้เราได้ศึกษาและชมกันด้วย หากไปตอนกลางวันอาจจะรู้สึกร้อนสักหน่อย ควรพกร่มไปด้วยจะดีมากค่ะ สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะพาไปเที่ยวไหว้พระที่ไหน รอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ